วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

สถานที่ท่องเที่ยวของอยุธยาที่น่าสนใจ



พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสามพระยา


สถานที่น่าสนใจในพิพิธภัณฑ์ ได้แก่
พระพุทธรูประทับนั่งห้อยพระบาท
     เป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดีที่เคยประดิษฐานในซุ้มพระสถูป โบราณวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐมซึ่งกรมศิลปากร ได้พยายามติดตาม ชิ้นส่วนต่าง ๆ ขององค์พระที่กระจัดกระจายไปอยู่ในที่ต่างๆ มาประกอบขึ้นเป็นองค์ได้อย่างสมบูรณ์ นับเป็นพระพุทธรูปที่มีค่ามากองค์หนึ่งเพราะในโลกมีเพียง 6 องค์เท่านั้น
เศียรพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยอู่ทอง
    
มีขนาดใหญ่มาก ได้จากวัดธรรมมิกราช แสดงถึงความเก่าแก่ ของวัด และฝีมือการหล่อวัตถุ ขนาดใหญ่ในสมัยโบราณ นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุที่ขุดพบอีกมากมายโดยเฉพาะที่ได้จากกรุวัดราชบูรณะรวบรวมไว้ในห้องมหรรฆภัณฑ์ มีเครื่องราชูปโภคทองคำทองกรพาหุรัตน์ ทับทรวง เครื่องประดับเศียรสำหรับชายและหญิง พระแสงดาบฝักทองคำประดับพลอยสีต่างๆ เป็นต้น แสดงความรุ่งเรืองของ กรุงศรีอยุธยาในอดีตไว้อย่างน่าชมน่าศึกษามาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาเปิดทำการตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. วันพุธ-วันอาทิตย์ ปิดวันจันทร์ วันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าธรรมเนียมการเข้าชม ชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 30 บาท รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ โทร. (035) 241587
เรือนไทยโบราณ
     ภายในเรือนไทย จะแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่และของใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวันในสมัยก่อน เช่น ห้องครัว ห้องนอน ระเบียงนั่งเล่น ฯลฯ

พระราชวังหลวง

พระที่นั่งวิหารสมเด็จ ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุด เป็นปราสาทยอดปรางค์มีมุกหน้าหลังยาวแต่มุขข้างสั้น มีกำแพงแก้วล้อม 2 ด้าน ตามพงศาวดารกล่าวว่าสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โปรดให้สร้าง เมื่อ พ.ศ. 2186 เพื่อแทนพระที่นั่งมังคลาภิเษกที่ถูกฟ้าผ่าไฟไหม้ ชาวบ้านเรียก "ปราสาททอง" เนื่องจาก เป็นปราสาทปิดทององค์แรกที่สร้างขึ้น สำหรับประกอบพระราชพิธีต่างๆ


พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ เป็นปราสาทจตุรมุขก่อด้วยศิลาแลง อยู่ติดกำแพงริมน้ำ เดิมชื่อ พระที่นั่งสุริยามรินทร์ ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อนี้เพื่อให้คล้องกับชื่อ พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท ก่อสร้างเป็น ปราสาทจตุรมุขยกพื้นสูงกว่าพระที่นั่งองค์อื่นๆ ใช้เป็นที่สำหรับประทับทอดพระเนตรขบวนแห่ทางน้ำ


พระที่นั่งตรีมุข อยู่ข้างหลังพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท ไม่ปรากฏปีที่สร้าง เข้าใจว่าเดิมเป็น พระที่นั่งฝ่ายใน และเป็นที่ประทับในอุทยาน


                        

พระที่นั่งทรงปืน
อยู่ริมสระด้านตะวันตก ใกล้พระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์ สร้างเป็นรูปยาวรี น่าจะใช้เป็นที่ฝึกซ้อมเพลงอาวุธ และในสมัยสมเด็จพระเพทราชาทรงใช้เป็นที่เสด็จออกขุนนาง


                        

พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท
เป็นปราสาทยอดปรางค์ตั้งอยู่ตรงกลางสร้างแบบเดียวกันกับ พระที่นั่งวิหารสมเด็จ มีมุขเด็จยื่นออกมา เพื่อเสด็จออกรับแขกเมือง มีโรงช้างเผือกกระหนาบอยู่ทั้งสองข้าง


                      

พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์
สมเด็จพระเจ้าปราสาททองสร้างเมื่อ พ.ศ. 2175 พระราชทานนามว่า "พระที่นั่งสิริยโสธรมหาพิมานบรรยงก์" คล้ายปราสาทที่นครธม ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็น "พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์" ลักษณะเป็นปราสาทตรีมุข ตั้งอยู่บนกำแพงชั้นในหน้าพระราชวัง เป็นที่สำหรับทอดพระเนตรกระบวนแห่และฝึกซ้อมทหาร เหมือนพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ที่พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ

                        

พระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์ (พระที่นั่งท้ายสระ)
เป็นปราสาทจตุรมุข ตั้งอยู่บนเกาะกลางสระน้ำ สมเด็จพระเพทราชา โปรดให้สร้างขึ้นเป็นที่ประทับสำราญพระราชหฤทัย เมื่อ พ.ศ. 2231 และได้เสด็จประทับตลอดรัชกาล มีพระแท่นสำหรับทอดพระเนตรปลาที่ทรงเลี้ยงไว้ในสระนั้นด้วย



ตลาดลาดชะโด
     เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีรูปแบบของตลาดเริ่มหลากหลายตามลักษณะของชุมชน เกิดย่านตลาดหรือสถานที่ หรือทำเลที่มีการค้าขายทั้งแบบถาวรและแบบชั่วคราวขึ้น บ้างก็ค้าขายกันทั้งวันตั้งแต่เช้าจรดเย็น บ้างก็ขายเฉพาะช่วงเช้าหรือเย็นเท่านั้น ในย่านตลาดยังมีการสร้างโรงเรือนที่ใช้ค้าขายและพักอาศัยอยู่ด้วย มักตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีการคมนาคมสะดวก
     ร้านค้าในย่านตลาดจะขายสินค้าต่างกันไป ทำให้เกิดเป็นสังคมอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัย และไม่ว่าตลาดจะเกิดขึ้นและถูกลืมไปสักกี่ครั้ง ร่องรอยของตลาดครั้งกระโน้นก็ยังตกทอดมาถึงคนรุ่นปัจจุบัน ทั้งน้ำจิตน้ำใจไมตรี การค้าขายแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ที่เหลืออยู่ครบถ้วนในตลาดวันนี้ที่อยุธยา
ตลาดลาดชะโด
     ตลาดเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี เริ่มจากเรือนแพค้าขายของชาวจีนที่ตั้งอยู่สองฝั่งคลอง ต่อมาได้สร้างเป็นตลาดไม้ริมน้ำ แล้วขยายขึ้นไปบนบกเรื่อยๆ จำนวนเกือบรอ้ยคูหา เป็นเรือนแถวขนาดใหญ่หันหน้าเข้าหากัน ทางเดินกว้างขวางในชุมชนมีวัด โรงเรียน ศาลเจ้า โรงสีและโรงภาพยนตร์ที่ยังคงสภาพแบบเดิม ชุมชนลาดชะโดเดิม เรียกว่าบ้านจักราช เป็นชุมชนที่เกิดขึ้นหลังจากพม่าปล้นกรุงศรีอยุธยาและถอนกำลังลงไปในปี พ.ศ.2310 บริเวณบ้านจักราช มีคลองออกไปสู่แม่น้ำน้อย ในคลองเต็มไปด้วยปลาต่างๆ โดยเฉพาะปลาชะโด อันเป็นที่มาของชื่อลาดชะโดในเวลาต่อมาถึงขนาดมีคำเตือนว่า เวลาพายเรือให้ระวังไม้พายจะไปโดนปลาชะโดเข้า

     สมัยก่อนที่นี้เป็นแพเรียงกันยาวไปตรามลำคลอง มีแพตำรวจอยู่ตรงริมฝั่งตรงข้ามกับโรงพักปัจจุบันนี้ คนที่นี่เวลาจะไปบางกอกต้องนั่งเรือมล์ 2 ชั้นไป มีเรือแดงกับเรือเขียว ชั้นล่าง บรรทุกสินค้า ชั้นบนเป็นที่นอน ต่องล่องไป 1 วัน 1 คืน
     ในวันนี้ชาวชุมชนลาดชะโดได้ร่วมใจกันอนุรักษ์อาคารบ้านเรือนในชุใชน จนได้พระราชทานรางวัลอนุรีกษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเน เมื่อปีพ.ศ. 2549
รำลึกอดีต
     ในตลาดมีทั้งร้านถ่ายรูป ร้านตัดผม ร้านตัดเสื้อ ร้านขายของชำ ร้านยาไทยของหมอจรัล ที่โด่งดังมากเรื่องยารักษาไข้ทับระดู รายชื่อยาสมุนไรที่ยังติดอยู่ข้างกระป๋องมีนับร้อยชนิด บ้านเกิดศิลปิน นักร้อง นักแต่งเพลง ในยุคทศวรรษ 1970 ธีรศักดิ์ อัจจิมานนท์ ผู้ขับร้องเพลงกุหลาบแดง และลมลวงที่โด่งดัง เดิมที่บ้านเป็นร้านถ่ายรูป คุณพ่อเป็นช่างภาพที่มีผลงานเป็นที่รู้จักกันดีในท้องถิ่น คุณแม่เป็นผู้คิดค้นการทำพวงหรีดผ้าเป็นคนแรก พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าของนายกเทศมนตรี เดิมขายเครื่องสังฆภัณฑ์และพวกหรีดผ้าซึ่งเป็นของมีชื่อเสียงของที่นี้ จัดแสดงภาพถ่ายข้าวของเครื่องใช้ในอดีต มีตู้แสดงปลน้ำจืดหลายพันธ์ ที่แน่ๆ ต้องมีปลาชะโด โรงมหรสพ ปัจจุบันเป็นสมาคมชาวประมง โรงฉายหนังฉายให้ชมกันฟรีๆ หนังเรื่องที่ยกกองมาถ่ายทำที่ลาดชะโด อาทิ บุญชู รักข้ามคลอง ดงดอกเหมย ความสุขของกะทิ เป็นต้น ชมเรือเมล์ ลำใหญ่ ที่ถูกกู้ซากขึ้นมา สมัยก่อนใช้เดินทางขึ้นล่องระหว่าบางกอกกับหัวเมือง อยุธยา สุพรรณบุรี ชัยนาท นครสวรรค์

เยือนแล้วอย่าพลาด
     โรงเรียนวัดลาดชะโด (ประกาศวิทยาคาร) มีอาคารเรียนไม้ใต้ถุนสูงรูปตัว E สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2503 เป็นอาคารไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ยาวถึง 255 เมตร ในโรงเรียนมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน เล่าเรืองราววิถีชีวิตคนลาดชะโดในอดีต บริเวรหน้ารงเรียนมีปลาธรรมชาติมากมาย อาทิปลาชะโด ปลากราย ปลาหางแพน มีนักเรียนบริการขายอาหารปลากันอยู่บนแพ ที่รงเรียนมีผัดไทอร่อยๆ ขายเรียกกันว่า ผัดไทโรงเรียน คุณครูกับนักเรียนหมุนเวียนมาช่วยกันเปิดร้านได้เงินกำไรก็นำไปใช้เลี้ยงอาหารกลางวันเด็กนักเรียนของที่นี่ เรียกได้ว่าเป็นผัดไทอิ่มท้องอิ่มใจ

น่าชิมลิ้มลอง
     ในตลาดชิม แกงบอน ร้านข้าวแกงแม่ชั้ว ที่หากินได้ยากเพราะแกงยากต้องเคี่ยวกับส้มมะขามจนบอนจมปรุงให้ได้ 3 รส เปรี้ยว เค็ม หวาน แม่ค้าบอกเคล็ดลับเวลาโดนบอนแล้วคันให้ใช้ส้มมะขามทา จะหายคัน ห่อหมกปลาช่อนชิ้นโต ใส่ใบยออย่างเดียวทำให้รสชาติของหอหมกจัดจ้านขึ้น ต้มเค็มปลาตะเพียน สูตรโบราณใส่อ้อย สับปะรด ส้มมะขาม ปลาเห็ดทำจากปลาสร้อย ก๋วยจั๊บป้าพะเนียด ก๋ยวเตี๋ยวหมูตุ๋น กรุงเก่า เป็ดย่าง เป็ดพะโล้ร้านลุงหนวด ห่อหมกครก ขนมต้มสมุนไพร ขนมถั่วแปปใบเตย ขนมหม้อแกงและอีกหลายอย่าง เดินจากในตลาดมาริมน้ำจะเจอแพหลังใหญ่มีก๋วยเตี๋ยวเรือให้นั่งกิน

ล่องเรือชมแม่น้ำ
     ล่องเรือชมวิถีชีวิตริมคลองลาดชะโด การยกยอ ทอดแห บ้านเรือนไทยริมน้ำ ค่านั่งเรือคนละ 10 บาทเท่านั้น ถ้าจะเหมาทั้งลำก็ลำละ 50 บาท

ติดไม้ติดมือมาฝาก
     ปลาตะเพียนแล่แดดเดียว ปลาแปปแดดดัยว ปลาย่างรมควัน เช่นปลาช่อน ปลาเนื้ออ่อน ฝีมือชาวบ้านย่านนี้

บ้านใกล้เรือนเคียง
     วัดลาดชะโด วัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา แวะสักการะรูปเหมือนหลวงพ่ออุปัชฌาย์ อิ่ม ธมมสาโร (อิ่ม ผาสุกถ้อย) อดีตเจ้าอาวาส วัดลาดชะโด ซึ่งเป็นที่เคารพของผู้คนในชุมชน ชมศาลาขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเก่า สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2452 เสาทำจากซุงไม้ตะเคียนทั้งต้น พื้นทำจากไม้สักทองทั้งหลัง ข้ามสะพานไปชม โรงพักเก่าแก่ที่ย้ายจากแพขึ้นมาสร้างบนบก ศาลเจ้าลาดชะโด ประมาณปี พ.ศ.2480 ได้เกิดเพลิงไม้ครั้งใหญ่ ชาวจีนที่อยู่ที่นี่จึงได้เชิญซินแสมาช่วยดูฮวงจุ้ย และได้สร้างศาลเจ้าขึ้นที่ปากคลองลาดชะโด หลังจากนั้นก็ไม่เกิดไฟไหม้อีก

บนเส้นทาง
     จากกรุงเทพฯลงทางด่วนบางปะอินตรงไปตามถนนเส้นสามโคก-ปทุมธานี ผ่านสี่แยกเสนาไปอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เลยตัวอำเภอไป เลี้ยวซ้ายผ่านสำนักงานเทศบาลตำบลลาดชะโดจะพบตลาดลาดลาดชะโดอยู่ซ้ายมือ มีป้ายบอกตลอดทาง